“กรมป่าไม้”เอาด้วยเพื่อการพัฒนาสาธารณูปโภคในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หลังสส.วรวัจน์ฯ ประสานขอกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชสำเร็จ

1055
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ สส.วรวัจน์ฯ เอื้ออภิญญกุล สส.แพร่ เขต 3 พรรคเพื่อไทย ได้ผลักดันการใช้พื้นที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งต่อมา มีคำสั่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ 1347/2567 ลงวันที่ 1 เมษายน 67 ได้มอบอำนาจให้ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1-16 และทุกสาขา ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีฯ ในการอนุญาตเพื่อบำรุงรักษาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ฯลฯ ว่าด้วยการอนุญาตให้กระทำการในอุทยานแห่งชาติ และวนอุทยาน แล้วแต่กรณีภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบนั้นๆพื้นที่ที่อยู่ในเขตอุทยาน เขตรักษาพันธุ์พืช สามารถดำเนินการตามกิจกรรมข้างต้นได้ และอำนาจอนุมัติอยู่ที่ ผอ.สำนัก 1-16

ล่าสุดมีข่าวดีอีกครั้ง เมื่อ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ ได้ลงนามในหนังสือ ด่วนที่สุดบันทึกข้อความ เรื่องการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561ที่กรมป่าไม้ได้อนุมัติโครงการตามมาตรา.19. แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507

โดยมีคำสั่งถึงผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1-13 ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้สาขาทุกสาขาตามที่กรมป่าไม้ได้อนุมัติแนวทางการปฏิบัติตามแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ท้ายหนังสือสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ ด่วนที่สุด ที่ ทส 1603.3/3036 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ตามแนวทางการปฏิบัติงานดังกล่าว กลุ่มที่ 3 พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 ก่อนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และกลุ่มที่ 4 พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 หลังมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และต้องปฏิบัติตามคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ให้จัดทำ “โครงการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำ 1 และ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561” เสนอกรมป่าไม้พิจารณาอนุมัติตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และกรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ทส 1602.5’2/4204 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2567 ส่งตัวอย่างโครงการฯ ให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ทราบเพื่อใช้ในการจัดทำโครงการเสนอกรมป่าไม้พิจารณา ซึ่งวัตถุประสงค์ข้อ 3.9 และแผนการตำเนินงานข้อ 7.7 จะมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในพื้นที่ที่จะดำเนินโครงการฯ ด้วย นั้น

ล่าสุดกรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้ว เพื่อให้การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่กรมป่าไม้อนุมัติโครงการฯ ตามตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงขอแจ้งแนวทางการปฏิบัติให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ทราบเพื่อดำเนินการ ดังนี้

1. เมื่อจะมีการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในพื้นที่ที่กรมป่าไม้อนุมัติโดรงการแก้ไขปัญหา การอยู่อาศัยทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำ 1 และ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ให้จัดทำโครงการเสนอให้ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ

2. โครงการพัฒนาสาธารณูปโภค ที่จัดทำขึ้นนั้น ให้หัวหน้าหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ท้องที่ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้เขียนโครงการ  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ร่วมเขียนโครงการ

3. ให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาโครงการดังกล่าว

โดยมีผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการส่วนทุกส่วน เป็นกรรมการ

และผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินป่าไม้เป็นกรรมการและเลขานุการ

4. เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบโครงการแล้วให้ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินป่าไม้ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการลงนามเห็นชอบโครงการ และเสนอให้ผู้อำนวยการสำนักจัดการ ทรัพยากรป่าไม้พิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป

ทั้งนี้ การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้เป็นไปตามโครงการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ลุ่มน้ำ 1 และ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ที่ได้รับอนุมัติตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 สำหรับสาธารณูปการ เช่น วัด โรงเรียนสนามกีฬา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น ให้ยื่นขออนุญาตตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ

นายกมล นวลใย ผอ.สบอ.13 แพร่ ได้กล่าวว่า ต้องขอบคุณท่านอรรถพล เจริญชันษา  อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นอย่างยิ่งที่เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตป่าอนุรักษ์ ซึ่งในปัจจุบัน พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนที่อยู่ พื้นที่ตามมาตา 64 อาศัยทำกินในพื้นที่ป่า สามารถพัฒนาการเพาะปลูกพืชได้อย่างมีความมั่นคง ไม่ต้องกังวลว่าจะมีความผิดจากการเข้าไปทำกินในเขตป่า(ตามกรอบ ม. 64 พรบ.อุทยานฯ) ดังนั้นการลดขั้นตอนการอนุญาตให้สำนักบริหารพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่สามารถตรวจสอบและอนุญาตให้ชุมชน อปท.ในพื้นที่สามารถยื่นขอที่อุทยาน ฯ วนอุทยานฯในพื้นที่และให้ สบอ.พื้นที่มีอำนาจอนุมัติตามกรอบอำนาจที่มอบไว้จะเป็นเรื่องสำคัญที่จะตอบสนองให้ชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์สามารถ สร้างสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตปรับปรุงเส้นทางลำเลียงพืชผลการเกษตร  สร้างระบบกระจายน้ำเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นปลูกพืชผสมผสาน ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและแก้ไขปัญหาไฟป้าหมอกควันในที่สุดและหวังว่าประชาชนในเขตป่าและบริเวณโดยรอบจะร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันแก้ไขปัญหาไฟป้าหมอกควันอันเป็นที่มาของการก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะโลกร้อนต่อไป

ซึ่งหลังจากทั้ง 2 กรมได้อนุญาตเป็นหนังสือแล้ว ทำให้ต่อไปนี้ การพัฒนาด้านแหล่งท่องเที่ยว หรือ การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ก็จะรวดเร็วขึ้น ซึ่งชาวแพร่จะได้ประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลในเรื่องนี้ บางสิ่งบางอย่างไม่ต้องรอนาน ก็สามารถอนุมัติทำได้เลย แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามระเบียบราชการ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่ สส.วรวัจน์ฯ ได้ผลักดันจนสำเร็จ เพื่อพ่อแม่พี่น้องชาวแพร่ ได้รับประโยชน์อย่างมากมายต่อไป