อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชสั่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ฯทั้งประเทศ

218
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

ล่าสุด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีคำสั่งที่ 1347/2567 ลงวันที่ 1 เมษายน 2561 มอบอำนาจให้ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 1-16(สบอ.) และ ผู้อำนวยการสำนัก สาขาทุกสาขา ปฏิบัติราชการแทน อธิบดี ในการพิจารณา อนุญาต เพื่อการบำรุงรักษา โครงสร้าง สาธารณูปโภค พื้นฐาน หรือ เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน ตามระเบียบการอนุญาตให้เข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติฯ  ตาม มาตรา 22 มาตรา27 และ มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ 2562 โดย ท้องที่ท้องถิ่น ที่ ต้องการ พัฒนา หรือปรับปรุง ระบบสาธารณูปโภค พื้นฐาน เช่น ถนน หนทาง หรือระบบ ไฟฟ้า ระบบประปา อ่างเก็บน้ำ ที่อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ สามารถ ดำเนินการได้ สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้นโดย ยื่นเรื่องต่อหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ หรือ หัวหน้าวนอุทยานในพื้นที่นั้นๆได้เลย โดย อธิบดี ได้มอบอำนาจ การอนุญาต ให้ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทุกพื้นที่ สามารถ พิจารณา อนุญาตได้เลย ซึ่ง การดำเนินการดังกล่าว จะทำให้ลดขั้นตอน และ ระยะเวลา ในการดำเนินการ ได้ เร็วยิ่งขึ้น แต่ การดำเนินการตามโครงการต่างๆ จะต้องมี รายละเอียด และ แบบแผน ของ โครงการ นั้นๆ ซึ่ง สามารถ ไปติดต่อ ขอประสานละเอียดได้ที่ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติในพื้นที่นั้นๆ ได้ทุกพื้นที่

 เรื่องนี้นายกมล นวลใย ผอ.สบอ.13 แพร่ ได้กล่าวว่า ต้องขอบคุณท่านอรรถพล เจริญชันษา  อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นอย่างยิ่งที่เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตป่าอนุรักษ์ ซึ่งในปัจจุบัน พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนที่อยู่ พท.ตามมาตา 64 อาศัยทำกินในพื้นที่ป่า สามารถพัฒนาการเพาะปลูกพืชได้อย่างมีความมั่นคง ไม่ต้องกังวลว่าจะมีความผิดจากการเข้าไปทำกินในเขตป่า(ตามกรอบ ม. 64 พรบ.อุทยานฯ) ดังนั้นการลดขั้นตอนการอนุญาตให้สำนักบริหารพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่สามารถตรวจสอบและอนุญาตให้ชุมชน อปท.ในพื้นที่สามารถยื่นขอที่อุทยาน ฯ วนอุทยานฯในพื้นที่และให้ สบอ.พื้นที่มีอำนาจอนุมัติตามกรอบอำนาจที่มอบไว้จะเป็นเรื่องสำคัญที่จะตอบสนองให้ชุมชนในเขตป่าอนุรักษ์สามารถ สร้างสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตปรับปรุงเส้นทางลำเลียงพืชผลการเกษตร  สร้างระบบกระจายน้ำเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นปลูกพืชผสมผสาน ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและแก้ไขปัญหาไฟป้าหมอกควันในที่สุด.. และหวังว่าประชาชนในเขตป่าและบริเวณโดยรอบจะร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันแก้ไขปัญหาไฟป้าหมอกควันอันเป็นที่มาของการก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะโลกร้อนต่อไป