เทศบาลตำบลร้องกวางจัดกิจกรรม “MOI Waste Bank Week -มหาดไทยปักธงประกาศความสำเร็จ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ธนาคารขยะ”

19
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

เมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายพิพัฒน์ ซื่อทรงธรรม นายกเทศมนตรีตำบลร้องกวาง มอบหมายให้ นายอัศวิน วรรณจรรยา รองนายกเทศมนตรีตำบลร้องกวาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมเปิดกิจกรรม “MOI Waste Bank Week -มหาดไทยปักธงประกาศความสำเร็จ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ธนาคารขยะ” ณ หอประชุมอเนกประสงค์เทศบาลตำบลร้องกวาง โดยเทศบาลตำบลร้องกวาง ได้จัดตั้งธนาคารขยะเทศบาลตำบลร้องกวาง เพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินงานธนาคารขยะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการรณรงค์สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะ และคัดแยกขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลไปจำหน่าย เพื่อให้มีรายได้กลับสู่ชุมชนต่อไป

สำหรับ กิจกรรม “MOI Waste Bank Week -มหาดไทยปักธงประกาศความสำเร็จ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ธนาคารขยะ” นั้นเกิดขึ้นตามที่ กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศกระทรวงฯ เรื่อง การจัดการขยะมูลฝอย พ.ศ. 2560 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการมูลฝอยโดยดำเนินการตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยจัดให้มีระบบจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรณรงค์สร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะมูลฝอย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้สนับสนุนให้นำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ผ่านการจัดตั้ง ธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) นั้น

 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลร้องกวาง จึงได้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารขยะเทศบาลตำบลร้องกวาง โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ คณะผู้บริหาร และพนักงานเทศบาล พนักงานจ้าง สังกัดเทศบาลตำบลร้องกวาง เพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินงานธนาคารขยะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งได้จัดให้มีระบบจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ อันจะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอื่น ๆ ภายใต้หลักการ 3R คือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ อีกทั้งยังเป็นการรณรงค์สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะ และคัดแยกขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิล ไปจำหน่าย เพื่อให้มีรายได้กลับคืนสู่ชุมชน และสนับสนุนส่งเสริมให้หมู่บ้าน กลุ่ม องค์กร ในพื้นที่ ได้กำหนดระบบสวัสดิการชุมชนร่วมกับสมาชิกธนาคารขยะ และจัดทำฐานข้อมูลขยะมูลฝอย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการคัดแยกขยะมูลฝอยครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น