โอละพ่อ?ผลสอบบ้านบอมเบย์เบอร์มาที่แท้เป็นอาคารที่ทำการป่าไม้ภาคแพร่ กรมป่าไม้สยาม

4498
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

……….ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากการที่กรมศิลปากรเข้าสำรวจและออกแบบค้นหาจากที่เป็นข่าวดังไปทั่วประเทศจากการรื้อถอนบ้านอายุกว่า ปีที่สวนรุกชาติบ้านเชตวันตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ เป็นเรื่องใหญ่ถึงกับมีการแจ้งความเอาผิดกับผู้อนุมัติงบในการปรับปรุงซ่อมแซมจนถึงการรื้อถอนทั้งหมดจนเป็นเรื่องทำให้คนทั้งประเทศเข้ามาดูระดับรัฐมนตรีต้องมาทำพิธีขอขมาทำให้ข้าราชการอีกหลายๆคนต้องตกเป็นจำเลยทางสังคมข้าราชการบางคนต้องถูกล็อคการเลื่อนขั้นและการตรวจสอบและประชุมชี้แจงที่ห้องประชุมที่ห้องศูนย์ศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำลุ่มน้ำยม จังหวัดแพร่ถึงกับโอละพ่อ

……….บ้านที่รื้อถอนไม่ใช่บ้านบอมเบย์เบอร์มากลับเป็น อาคารที่ทำการป่าไม้ภาคแพร่ กรมป่าไม้สยามสวนรุกชาติบ้านเชตวันส่วนบ้านบอมเบย์เบอร์มานั้นถูกน้ำยมพัดไปก่อนแล้ว

​……..นายประธีป  เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากรได้เดินทางมาประชุมชี้แจงและนำเสนอแบบแปลนรูปแบบอาคารศูนย์เรียนรู้สวนรุกชาติบ้านเชตวันที่ห้องประชุมศูนย์ศึกษาการพัฒนาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำลุ่มน้ำยม จังหวัดแพร่ พื้นที่สวนรุกชาติบ้านเชตวัน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พร้อมด้วยได้เชิญหน่วยงานต่างๆในจังหวัดแพร่เช่น ปลัดจังหวัดแพร่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ องค์กรเครือข่ายรักเมืองเก่าจังหวัดแพร่และชาวบ้านในบ้านเชตวันเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงถึงที่ไปที่มาของการตรวจสอบทางโบราณคดีของบ้านบอมเบย์เบอร์มาที่เป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศและมีการแจ้งความฟ้องร้องหน่วยงานที่มีการอนุมัติงบประมาณในการซ่อมแซมปรับปรุงจนถึงขึ้นรื้อถอน

……….นายประธีป  เพงตะโก อธิบดี กรมศิลปากร เปิดเผยว่าจังหวัดแพร่เป็นเมืองไม้และเป็นแหล่งไม้สักระดับโลกแต่ถึงแม้จะไม้จะหายากแต่ก็ยังมีบ้านเก่าและอะไรเก่าๆของไม้ไว้มากก็ควรจะอนุรักษ์ไว้

​ส่วนสรุปการตรวจสอบทางโบราณคดีนั้นสรุปได้ว่าบ้านเก่าที่รื้อไปนั้นไม่ใช่บ้านบอมเบย์เบอร์มา บ้านบอมเบยเบอร์มานั้นจริงๆแล้วถูกน้ำยมพัดไปก่อนแล้วเพราะจากการตรวจสอบทางภาพถ่ายทางอากาศมีการเปลี่ยนเส้นทางน้ำยมบ้านบอมเบย์ฯจะอยู่ในเส้นทางน้ำปัจจุบันส่วนที่รื้อปรับปรุงนั้นและเป็นข่าวใหญ่นั้นเป็นที่รับรองหรือสำนักงานป่าไม้เก่าเพราะแผนที่ทางอากาศในปีกว่านั้นกับในปัจจุบันนำมาเปรียบเทียบแล้วบ้านที่ถูกรื้อถอนและพิสูจน์ทางโบราณคดีไม่ใช่บ้านบอมเบย์หรืออาคารศูนย์การเรียนรู้ป่าไม้สวนรุกชาติเชตวัน​แต่ก็จะมีการก่อสร้างและนำรูปแบบมาให้ทางคณะกรรมการชาวบ้านและองค์กรต่างๆๆมาประชาคมกันอีกทีในเดือนมกราคนปี 64 นี้มีหลายแบบ 

…………​ด้านทางนายอิศเรศ  สิทธิโรจนกุล  ผอ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่)ได้ชี้แจงในที่ประชุมและเผยถึงเรื่องงบประมาณในการสร้างว่าส่วนเรื่องงบประมาณในการสร้างอาคารศูนย์เรียนรู้นั้นทางกรมป่าไม้มีงบประมาณอยู่แล้วแต่ต้องหารายละเอียดของรูปแบบการสร้างเสร็จประชาคมเสร็จก็จะนำเสนอของบประมาณต่อไป

……………ทางด้านองค์กรเอกชนนายธีรวุธ  กล่อมแล้ว ประธานภาคีเครือข่ายรักษ์เมืองเก่าจังหวัดแพร่เปิดเผยว่าขอชาวแพร่มาร่วมกันและช่วยกันอนุรักษ์บ้านเก่าและสิ่งเก่าๆในเมืองแพร่ของเราส่วนการสรุปการประชุมก็มีเรื่องนำเสนอรูปแบบบ้าน มี 5 รูปแบบคงจะเดือนมกราปีหน้าที่จะมีการประชาคมกับคนแพร่ว่าจะเอาแบบไหนแต่การทำงานของภาครัฐตนเองก็พอใจที่มีการมีส่วนร่วมและรวดเร็วในการทำงานแต่ต้องขอชาวแพร่ออกมาช่วยกันในเดือนมกราเพื่อจะได้เรือนไม้ที่เป็นของคนแพร่