ร.อ.ธรรมนัสฯจ่ายเงินเยี่ยวยาชาวสวนลำไย

184
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

…………ร.อ.ธรรมนัส พรหมผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์มอบเงินเยียวยาแก่ชาวสวนลำไยและมอบเอกสารที่ทำกินแก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดแพร่

………..เมื่อวันที่วันที่ 25 ตุลาคม 2563 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกและกลุ่มประเทศ GMS ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ ร.อ.ธรรมนัส พรหมผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะได้เดินทางมาเป็นประธาน การจ่าย เงินโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563 จังหวัดแพร่โดย มี นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผวจ.แพร่ นำหัวหน้าส่วนราชการใน จ.แพร่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมต้อนรับและร่วมงาน

………..นายสมมารถ สยมภาค เกษตรจังหวัดแพร่ กล่าวรายงานว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนลำไยเป็นอย่างมาก  ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 อนุมัติโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563 เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรทุกครัวเรือ โดยให้ความช่วยเหลือในอัตราไร่ละ 2,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ไร่ (อายุลำไยตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป) โดยประมาณ 200,000 ครัวเรือน พื้นที่ 1.2 ล้านไร่

…………จังหวัดแพร่ มีเกษตรกรชาวสวนลำไยที่เข้าร่วมโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563 จำนวน 735 ราย  936 แปลง  เนื้อที่ 2,792.290 รวมเป็นเงิน 5,584,580 บาท (ห้าล้านห้าแสนแปดหมื่นสี่พันห้าร้อยแปดสิบบาทถ้วน) โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เริ่มดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรชาวสวนลำไย ตั้งแต่วัน 15 ตุลาคม ถึง 15 ธันวาคม 2563

………..นอกจากนี้ภายในงานยังประกอบด้วยการจัดนิทรรศการการผลิตลำไยการป้องกันกำจัดโดและแมลงศัตรูพืชลำไย/ธุรกิจชุมชนสร้างไทย/การจัดเกษตรที่ดีเหมาะสม (GAP) พืชอาหารปลอดภัย/งานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับกรปลูกลำไย/เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนลำไยได้รู้ และพัฒนาคุณภาพลำไยในจังหวัดแพร่ ให้มีคุณภาพดี ซึ่งในวันนี้มีตัวแทนเกษตรกรชาวสวนลำไย จังหวัดแพร่  ได้เข้ามาร่วมในงานฯ จำนวน 8 อำเภอ จำนวน 500 ราย ที่เข้าร่วมงานในวันนี้

………..ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญในการผลิตในเรื่องของการเกษตรนั้นคือปัญหาเรื่องน้ำ ซึ่งต้องมีการแก้ไขโดยเฉพาะภัยแล้งที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการตลาดที่ต้องดูแล ไม่ให้เกิดผลผลิตราคาตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ในส่วนของที่ดินทำกินก็เช่นกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยการผลิตซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน.