วรวัจน์ฯหนุนผู้ประกอบการอาหารแพร่เตรียมตัวรวย

117
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

……….ผู้ประกอบการอาหารล้านนาในจังหวัดแพร่ เตรียมโกอินเตอร์ ส่งจำหน่ายรอบโลก หลังผ่านคัดสรรสุดยอดอาหารสู่เวทีโลก”ถอดรหัสนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นสู่อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปและชีวภาพ จำนวน 5 ราย

……….เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 21 ก.ย.2563 ณ ร้านกินไทย (ตลาดประตูชัย) ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่  ได้มีพิธีปิดโครงการถอดรหัส นวัตรกรรมอาหารพื้นถิ่น สู่อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และชีวภาพ โดยมี นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง เป็นประธาน  นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 เป็นผู้รายงาน

………..จากการที่วงการอาหารไทยคึกคักสุดขีด จัดการประกวดแข่งขันอาหารจากทุกภูมิภาค คัดเลือกสุดยอดเด่นอาหารไทย พัฒนาสู่ระบบอุตสาหกรรม เตรียมครองตลาดโลก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการอาหารไทยทั่วประเทศ  ในส่วนจังหวัดแพร่ มีผู้ประกอบการอาหารล้านนา ได้รับคัดเลือกและส่งเสริมผลิตภัณฑ์แล้ว จำนวน 5 ราย ได้แก่1. แกงฮังเลล้านนา จากสูตรเฉพาะของคุณพัชรี เวียงนอก 2.ขนมเส้นดวงเนตร (ขนมเส้นสดน้ำใส) สูตรพิเศษ จากคุณชนิดา หอมขจร 3.จิ้นนึ่งเมืองแป้ อาหารพื้นถิ่นสูตรพิเศษ จากคุณศิริพร ศิริรัตน์ 4.น้ำพริกน้ำย้อยอาหวัง สูตรแซ่บไม่เหมือนใคร โดยคุณเมวิกา สืบอาทะ  5. ข้าวหลามป้าพา สูตรลับเฉพาะ โดยคุณป้ายุพา เทพพนม

……….ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะได้รับการส่งเสริม เข้าสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรม ลงทุนการผลิตเอง โดยขอรับการสนับสนุนจากธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน  หรือธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม แต่ก็มีหลายรายก็มีผู้มาขอลงทุนร่วม เป็นการยกระดับอาชีพประกอบอาหารสู่ตลาดโลก ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนอกจากจะได้ผลิตตามมาตราฐานโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังจัดเป็นกลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารไม่ใส่ผงชูรส ไม่ใส่สารเคมี และไม่ใส่วัตถุกันเสีย ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารภายใต้โครงการ ฯ จะได้รับตรารับรอง “Covid Free ” หรือความปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิทในกระบวนการผลิต เป็นพิเศษ ทำให้สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ช่องทางจำหน่าย สามารถสั่งซื้อเพื่อบริโภคเอง หรือจัดส่งให้ผู้ซื้อที่อยู่ต่างประเทศ ตามระบบช่องทางการจำหน่ายในโลกปัจจุบันต่อไป

……….นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในนามผู้ประกอบการจังหวัดแพร่ ขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการถอดรหัสนวัตกรรมอาหารพื้นถิ่นสู่อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นและบรรจุภัณฑ์ ในครั้งนี้โครงการนี้ ทำให้เกิดตันแบบและกรณีศึกษาการแปรรูปอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดแพร่ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการในจังหวัดแพร่ได้มีทางเลือกในการนำอาหารพื้นถิ่นเข้าสู่ตลาดในอีกรูปแบบหนึ่ง สามารถพัฒนาผู้ประกอบการให้มีจังหวัด และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติ ต่อไป