……….ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศไทย” และพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU) สร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบ และเปิดป้ายศูนย์อนุรักษ์วรรณกรรมเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบ ในกลุ่มจังหวัดแม่น้ำโขง ประเทศไทย
……….เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 18 ส.ค.63 สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ สถาบันอนุรักษ์คำภีร์ใบลานวัดสูงเม่น จัดงานเสวนาวิชาการ เรื่อง “การอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานเชิงสร้างสรรค์ ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศไทย” และ พิธีร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) สร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบในเกลุ่มจังหวัดแม่น้ำโขงตอนบน ตอนกลาง และ ตอนล่าง ประเทศไทย ภายใต้แผนการวิจัย เรื่อง นวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรมใบลานลุ่มแม่น้ำโขง The Community culture and blooming literature survey Mekong River Basin อุดหนุนทุนวิจัยโดย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดสูงเม่น ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่
……….โดยมี นายพยุงศักดิ์ พลลุน นายอำเภอสูงเม่น เป็นประธานในพิธีเปิด ดร.ไชยสิทธิ์ อุดมโชคนามอ่อน หัวหน้าแผนการวิจัย เรื่องนวัตวิถีวัฒนธรรม ชุมชนกับการสํารวจวรรณกรรมใบลานลุ่มแม่น้ำโขง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยา เขตอุบลราชธานี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน และมีผู้ร่วมเสวนานำโดย นําโดย พระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.ดร. เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม กทม. ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้ริเริ่มฟื้นฟูประเพณีตากธัมม์ วัดสูงเม่น ประเพณีแห่งเดียวในโลก, พระมหาสิทธิชัย ชยสิทธิ ปธ.9 ดร. ผู้อํานวยการสํานักวิชาการ มจร. วิทยาเขตแพร่ ผู้เชียวชาญงานพุทธศิลป์สร้างสรรค์, พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต รศ.ดร. ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ / ผอ.ส่วนสนับสนุนวิชาการ มจร.วิทยาเขตอุบลราชธานี ผู้เชี่ยวชาญวรรณกรรมใบลานสร้างสรรค์ สานเสวนาโดย รศ.พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์ หัวหน้าหน่วยวิจัย มจร.วิทยาเขตแพร่ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ อ.สมเจตน์ วิมลเกษม ครูภูมิปัญญาไทย ผู้เชียวชาญประวัติศาสตร์ และ คัมภีร์ใบลานล้านนา
……….โดย ดร.ไชยสิทธิ์ฯ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ว่า ตามที่นักวิจัยของโครงการ ได้ทําการลงพื้นที่สํารวจวรรณกรรมใบลานและวิธีการอนุรักษ์ คัมภีร์ใบลาน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ตอนกลาง และ ตอนล่าง รวม 11 จังหวัด และ นักวิจัยทุกท่านของโครงการ เห็นพ้องกันกันว่า วัดสูงเม่น เป็นวัดมีการจัดการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลาน ที่สมบูรณ์ที่สุด และ มีวรรณกรรมที่หลากหลายและจำนวนมากที่สุด จึงเห็นสมควรยกย่องให้วัดสูงเม่น เป็น ศูนย์วรรณกรรมใบลานเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบ ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ของประเทศไทย และให้ มีการจัดเสวนาวิชาการด้านการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานสร้างสรรค์ และทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างชุมชน 11 จังหวัด ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ได้แก่
……….กลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนตอนบน จํานวน 5 จังหวัดได้แก่ 1. ชุมชนวัดศรีบุญเรือง อ.เมือง จังหวัดเชียงราย 2.ชุมชนวัดหลวงราชสัณฐาน อ.เมือง จังหวัดพะเยา 3.ชุมชนวัดพระเกิด อ.เมือง จังหวัดน่าน 4.ชุมชนวัดสูงเม่น อ.สูงเม่น จังหวัดแพร่ 5ชุมชนวัดศรีจันทร์ อ.เมือง จังหวัดเลย กลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง จํานวน 4 จังหวัดได้แก่ 1.ชุมชนวัดสุทธิวนาราม อ.ปากคาด จังหวัดบึงกาฬ 2.ชุมชนวัดอุดมเขต(นาคลอง) อ.เมือง จังหวัดหนองคาย 3.ชุมชนวัดโพธิ์ศรี อ.นครพนม จังหวัดนครพนม 4.ชุมชนวัดวัดโพธิ์ไทร อําเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร กลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง จํานวน 2 จังหวัด ได้แก่ 1.ชุมชนวัดมณีวนาราม อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2.ชุมชนวัดโนนดู่ อ.เมืองอํานาจเจริญ จ.อํานาจเจริญ
……….โดยก่อนเริ่มการเสวนาได้มีพิธีแห่ธัมม์ และ ผ้าห่มคัมภีร์ รอบวิหารพระเจ้าใจดี จำนวน 3 รอบ จากนั้นเป็นพิธีถวายผ้าห่มคัมภีร์เพื่อแม่ ก่อนจะเริ่มเสวนา เรื่อง การอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานเชิงสร้างสรรค์ ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศไทย” โดยมีคณะศรัทธา และผู้สนใจเข้าร่วมการเสวนากว่า 100 คน และจากนั้นเป็นพิธีร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) สร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบในเกลุ่มจังหวัดแม่น้ำโขงตอนบน ตอนกลาง และ ตอนล่าง ประเทศไทย ก่อนจะปิดท้ายด้วยการเปิดป้าย ศูนย์อนุรักษ์วรรณกรรมใบลานเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบในกลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำโขง ประเทศไทย และเยี่ยมชมกิจกรรมและนิทัศการ เป็นอันเสร็จพิธี