สุดเฮ อบรมพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุยุคใหม่ เสริมความรู้ด้านอนามัย สุขภาพ และต้านคอลเซ็นเตอร์ในผู้สูงวัย รุ่นสุดท้าย ที่มีผู้สูงอายุ 78 ตำบลในแพร่ รุ่นแรก 15 ตำบลรุ่นที่ 2 อบรม 63 รุ่น 6,300 คน มีทั้งไทยและอาข่า



จากการที่ในปัจจุบัน สังคมโลกได้พัฒนาเป็นยุคของเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และ เทคโนโลยี ซึ่งผลของการพัฒนาได้ส่งผลกระทบต่อ การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุเป้นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จากสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ยุคใหม่ จิตใจแจ่มใส ร่างกายแข็งแรงของจังหวัดแพร่ขึ้น



โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ด้วยผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ ที่มี 78 ตำบล แบ่งเป็น 63 รุ่นๆ ล่ะ 100 คน รวมทั้งหมด 6,300 คน ซึ่งได้ให้ความรู้ทางด้าน การแพทย์ อนามัย สุขภาพ และ ให้ความรู้ทางด้านป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ระบาดหนักในกลุ่มผู้สูงอายุ ให้ รอบรู้เท่าทันมิจฉาชีพเหล่านี้ เพราะแต่ละวันจะมีข่าวว่า คนไทยถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอก สูญเงินจนหมดตัว ซึ่งเป้าหมายของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ คือกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ไม่เท่าทันเทคโนโลยีและมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง



เมื่อเวลา 10.00 น ของวันที่ 23 มิถุนายน 2567 ที่ หอประชุมลานวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ นายพิภพ ถานะวุฒิพงศ์ รอง นายก อบจ.แพร่ เป็นประธานในการเปิดการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุยุคใหม่ จิตใจแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง และต้านคอลเซ็นเตอร์ กับผู้สูงอายุ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ โดยมีนางสาวอาทิตยา อินนะไชย ส.อบจ.แพร่ อ.สอง เขต 2 ร่วมพิธีเปิดด้วย ที่เป็นรุ่นสุดท้ายของการอบรมผู้สูงอายุใน จ.แพร่ โดยเฉพาะในรุ่นนี้ มีชาวเขาเผ่า อาข่า ผู้สูงอายุ เข้าร่วมรับการอบรมด้วย ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม ยุคใหม่ในสังคมร่วมและการละเล่นพื้นบ้านด้วยชุดแต่งกายของชนเผ่า



การอบรมมีการปลุกเร้าอารมณ์ของผู้สูงอายุ ให้ร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนานและมีความสุข จาก นางสาวสุรีย์ ทาประเสริฐ เลขานุการ นายก อบจ.แพร่ เป็นพิธีกร ขอแรงเชียร์จากผู้เข้าอบรม แบบขอเสียงคนไม่มีผัว หรือ ขอเสียงจากคนที่ถูกหวย ขอเสียงคนที่รวย ขอเสียงคนที่ ต้มเหล้าขายได้เยอะๆ ผู้สูงอายุต่างขานรับกันสนั่นห้องประชุม โดยเฉพาะ ขอเสียงคนที่ อยากถูกหวย และ ขอให้คนต้มเหล้า ขายดิบขายดี ขานรับกันมากกว่าเชียร์อันอื่น เนื่องจาก กลุ่มผู้สูงอายุตำบลสะเอียบ อ.สอง เป็นตำบลที่มีการต้มสุรากลั่นพื้นบ้าน สร้างรายได้สู่ชุมชนปีละ ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทด้วย.


