(มีคลิป)นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่ จ.แพร่

33
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

เมื่อวันที่ 17 มันาคม 2567 เวลา 13.30 น. ที่องค์การบริหารส่วนตำบลร่องกาศ อ.สูงเม่น จ.แพร่ นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามตรวจเยี่ยม และเป็นประธานเปิดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น” โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จังหวัดแพร่เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยมี นายชุติเดช มีจันทร์ ผวจ.แพร่ และ นายนคร สายยืด นายอำเภอสูงเม่น พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการอำเภอสูงเม่น นายสมคิด ยอดสาร นายก อบต.ร่องกาศ นายเสรี เวียงนาค นายก อบต.เวียงทอง ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอสูงเม่น และสมาชิกผู้ฝึกอบรมฯ ชาวบ้านร่วมต้อนรับ ในโอกาสนี้ได้มอบป้ายสนับสนุนสินเชื่อ ให้กับผู้ประกอบการ Smes จำนวน 4 ราย

การจัดกิจกรรมมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งสิ้น จำนวน 200 คน โดยทุกคนจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และฝึกปฏิบัติ “พัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น” และ “พัฒนาทักษะด้านการตลาดออนไลน์” จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรงานปั้นจากขี้เลื่อย , หลักสูตรการประดิษฐ์ของที่ระลึกจากเศษผ้า และหลักสูตรเทคนิคการถ่ายภาพนิ่งให้ดึงดูดใจลูกค้า

ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการ “กระจายแหล่งอุตสาหกรรมในท้องถิ่น” เพื่อส่งเสริมการสร้างงานในพื้นที่ และสามารถ “กระจายรายได้” ให้เกิดความเป็นธรรม รวมถึงให้ความสำคัญกับการสร้าง “คุณค่า” และ “มูลค่า” ทางเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมการผลิตสินค้าให้มีเอกลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับฐานทรัพยากรของชุมชน

ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่และผู้ประกอบการในการนำมาปรับใช้และยกระดับการใช้ทรัพยากรนั้นอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)ที่มุ่งปรับรูปแบบการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสร้างรายได้สุทธิให้ชุมชน ท้องถิ่น และเกษตรกร รวมถึงพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ และนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มศักยภาพในการยกระดับ “เมืองรอง” และกระตุ้นเศรษฐกิจใน 3 แกนหลักสำคัญ ประกอบด้วย การเพิ่มศักยภาพโดยการเตรียม ความพร้อมด้านต่างๆ ในทุกมิติ การสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี และการช่วยเหลือเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่ง “จังหวัดแพร่” ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 10 จังหวัดนำร่องในการพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว

จากนั้นเวลา 14.45 น. นางสาวพิมพ์ภัทราฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมได้เดินทางไปยังสมาคมการค้า ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์ไม้จังหวัดแพร่ ต.ดอนมูล อ.สูงเม่น จ.แพร่ โดยพบปะ ผู้ประกอบการ เพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการประกอบกิจการ โดยมี นายเอกพงษ์ เสียงเพราะ นายกสมาคมการค้า ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้จังหวัดแพร่ กล่าวต้อนรับ และบรรยายสรุปถึงปัญหา ความต้องการโดยเฉพาะการขออนุญาตในการทำไม้ ทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งไม้ท่อนเดียวต้องใช้ใบขออนุญาตจำนวน 6 ใบ ในการใช้ประกอบกิจการทำไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ และขั้นตอนในการขอก็ยุ่งยาก จึงอยากจะให้มีใบขออนุญาตเพียงใบเดียวที่ครอบคลุมการทำไม้ทุกประเภทอยู่ในใบเดียว

นอกจากนี้ในการขอรับการสนับสนุนเงินทุนจาก SME Bank ก็ถือว่ายุ่งยากในเรื่องของเอกสาร การให้คำแนะนำค่อยข้างน้อยและพิจารณาล่าช้า ซึ่งผู้แทน SME Bankได้ชี้แจงว่า ปัจจุบันธนาคารได้ลดการใช้เอกสารโดยใช้ระบบเอกสารทางออนไลน์แทน และมีทีมพัฒนาสถานประกอบการ เป็นพี่เลี้ยงช่วยดูแล และปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียนให้เกิดสภาพคล่องกับสถานประกอบการ

ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่าปัจจุบัน ระบบเงินทุนสนับสนุนมีหลายช่องทาง ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม มีกองทุน SME ตามแนวประชารัฐ ซึ่งมีเม็ดเงินอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการสามารถขอรับการสนับสนุน ช่วยเหลือ โดยทำเรื่องผ่านสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ซึ่งจะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับ สถานประกอบการได้

อย่างไรก็ตามจังหวัดแพร่ถือว่าเป็นเมืองไม้สัก ที่มีการประกอบกิจการด้านการทำชุดเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ทั้งส่งออกและจำหน่ายในประเทศ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.ดอนมูล อ.สูงเม่น ถือเป็นแหล่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้สักขนาดใหญ่ โดยมี ศูนย์การเรียนรู้ไม้สักวิทยาลัยชุมชนแพร่ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก แต่ละปีจะส่งออกไปยังต่างประเทศ และจำหน่ายในประเทศ สร้างรายได้ ให้เงินหมุนเวียนให้กับจังหวัดและประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังติดขัดในเรื่องของปัญหาด้านกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และในเรื่องของ กฎหมายว่าด้วยการทำไม้ ซึ่งทางกระทรวงอุตสาหกรรม รับหน้าที่ในการดูแลในเรื่องของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งเรื่องของการขออนุญาตและการขอรับการสนับสนุนจาก SME Bank เพื่อสนับสนุนและกระตุ้น การมีรายได้ แก่กลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชน และประชาชนผู้ประกอบการทำไม้ของจังหวัดแพร่