อบต.นาจักร นำผู้สูงอายุ สืบสานประเพณีโบราณ ร่วมถวายเทียนพรรษา ณ วัดพระธาตุปูแจ

55
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

วันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ นำโดย นางสาวสุธีรา พณะพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร คณะผู้บริหารฯ สมาชิกสภาฯ และข้าราชการส่วนตำบล จัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา โดยนำ นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร ร่วมถวายเทียนพรรษา ณ วัดพระธาตุปูแจ ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี แต่โบราณให้คงอยู่สืบไป โดย ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน

สำหรับประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงค์เถรวาทจะอธิฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติกปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา (“พรรษา” แปลว่า ฤดูฝน, “จำ” แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงค์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามการเข้าพรรษาตามปกติเริมนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน)และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา สาเหตุที่พระเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงค์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน

เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงค์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเพื่อศึกษาธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย อัตลักษ์ : การที่พระสงฆ์เถวาทจะอธิฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝน ที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการพิจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝนเพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และการหล่อเทียนพรรษาของประชาชนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์

เพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงเข้าพรรษาซึ่งสมัยก่อนใช้จุดเพื่อแสงสว่าง เนื่องจากไม่มีไฟฟ้า เรียกว่า “ตามประทีปเพื่อศึกษาหรือบำเพ็ญเพียรสมาธิในสถานที่มืด ถือว่าได้รับอานิสงส์ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะได้ธรรมะจากกิจกรรมและได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ความทำคัญและคุณค่าทางสังคม จิตใจ วิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน :พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศิล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอาบายมุข และมีโอกาสได้ฟังธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษาเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งการหล่อเทียนพรรษานั้นเป็นประเพณีที่สัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เป็นพุทธบัญญัติ คือ การเข้าพรรษา