(มีคลิป)การรถไฟลงพื้นที่เคลียร์ที่ดินเวนคืนที่มีปัญหาเพื่อดำเนินการก่อสร้าง

757
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

หลังจากที่มีที่ดินไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการขอเวนคืน เพื่อไม่ให้การก่อสร้างล่าช้าและเสียผลประโยชน์ จึงเข้าทำการเคลียร์พื้นที่เพื่อก่อสร้าง โดยเจ้าของที่สามารถยื่นอุทธร เรื่องค่าเวนคืนที่ดินได้ ตามเงื่อนไข ภายหลังจากรับเงินเวนคืน

เวลาประมาณ 10.00 น.วันที่ 8 พ.ค.68 นายสมโชค อินทร์นรักษ์ อายุ 57 ปี หัวหน้ากองจัดการที่ดิน ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืน พร้อมด้วยทีมงานผู้รับเหมาก่อสร้างทางรถไฟ ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองแพร่ ฝ่ายปกครอง ต.เหมืองหม้อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ แปลงที่ดินผู้ถูกเวนคืนบริเวณ ต.เหมืองหม้อ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ เพื่อทำการเคลียร์พื้นที่ในการก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว เจ้าของที่ดินเพิกเฉย ไม่ดำเนินตามที่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2562 โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองแพร่ มาอำนวยความสะดวก และดูแลความปลอดภัยให้กับทุกฝ่าย โดยมีเจ้าของแปลงที่ดินผู้ถูกเวนคืน ได้มาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รับมอบหมายจากกการรถไฟแห่งประเทศไทย ก่อนจะทำการขนย้ายข้าวของจากอาคารภายในที่ดิน เพื่อนำมาเก็บรักษาให้กับเจ้าของที่ดินก่อนที่จะทำการรื้อถอนอาคาร โดยมีทีมงานเจ้าของแปลงที่ดินผู้ถูกเวนคืน ถ่ายวีดีโอทุกจุดการทำงาน

ทางด้าน นายสมโชค อินทร์นรักษ์ เผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ งบประมาณดำเนินโครงการก่อสร้างการรถไฟมูลค่า 72,835 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการเวนคืนในจังหวัดแพร่ มีจำนวนทั้งหมด 2,843 ราย โดยการเวนคืนที่ดินในจังหวัดแพร่ เหลือของ รายเจ้าของที่ดิน แปลงที่ดินลำดับที่ ท1219, ท1220,ท1221,ท1222,ท1223,ท1220.1 โดยเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนไปทั้งหมดประมาณ 1 งาน 58.1 ตร.ว. และมีสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว คงเหลือพื้นที่ 5 ไร่ 2 งาน 61 ตร.ว โดยที่ดินทั้ง 6 แปลงได้ประเมินราคาจากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นหลักเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนอาคารสิ่งปลูกสร้าง และอื่นๆสำหรับพื้นที่ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ และนำมาคำนวณตามเกณฑ์ที่ควรได้ตามบัญชีรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้น เพื่อดำเนินการเจรจาซื้อขายและกำหนดเงินค่าทดแทนกับผู้เวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนฯ โดยกำหนดราคาให้ราคาสูงสุด โดยทางผู้ถูกเวนคืนไม่พึงพอใจในราคาและไม่ให้ความร่วมมือในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กับการรถไฟฯ

ต่อมา การรถไฟได้พิจารณาความเสียหาย หากไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้จะทำโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ดำเนินการก่อสร้างตามกำหนดระยะเวลาของสัญญา จะเกิดผลกระทบต่อระบบการขนส่งทางราง โดยมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 72,835 ล้านบาท และเกิดการเสียผลประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย และส่งผลกระทบในวงกว้าง การรถไฟจึงได้พิจารณาเข้าดำเนินการตามกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน การเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 28 ในกรณีที่เจ้าของรายใดไม่ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 25 ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ต่อไปโดยเร็ว ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืน พ.ศ.2562 โดยการวางทรัพย์และเข้าพื้นที่ภายใน 90 วัน เพื่อครอบครองพื้นที่และเร่งดำเนินการก่อสร้างฯ ให้แล้วเสร็จต่อไปดังกล่าว

ทางด้าน เจ้าของแปลงที่ดินผู้ถูกเวนคืน เผยว่า สำหรับวันนี้ทางเรายินดีให้เวนคืนอยู่แล้ว แต่เราโต้แย้งกับเขามาตลอดก็คือให้เขาดำเนินการให้ถูกต้องตาม พรบ.เวนคืนฯ การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ถูกต้องตาม พรบ.เวนคืนฯ และตามกฎกระทรวงแต่เขาไม่ได้กำหนดตามกฎกระทรวง เราก็ได้โต้แย้งกันไปรวมทั้งเอกสารที่มันไม่ถูกต้อง เช่น ที่มีการปลอมลายมือเราในการยื่นขอรังวัด เราขอให้เพิกถอน เราจะรวมแปลงก็ไม่ยอมเพิกถอน แล้วก็มาอาศัยการวางเงินอ้างเหตุการณ์วางเงินทั้งๆ ที่การกำหนดราคาการจ่ายชดเชยก็ไม่ได้ถูกต้องตามกฎหมายอยู่หลายข้อ เราโต้แย้งเข้ามาตลอดแต่เขาก็เฉยๆแล้วก็ยืนยันที่จะเข้ารื้อถอนซึ่งเราก็แจ้งเขาแล้วเราไม่ได้ขัด แต่เราไม่ได้ยินยอมเนื่องจากว่าเขาก็ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเราก็จะดำเนินการตามกฎหมายของเราต่อไป.หลังจากที่มีที่ดินไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการขอเวนคืน เพื่อไม่ให้การก่อสร้างล่าช้าและเสียผลประโยชน์ จึงเข้าทำการเคลียร์พื้นที่เพื่อก่อสร้าง โดยเจ้าของที่สามารถยื่นอุทธร เรื่องค่าเวนคืนที่ดินได้ ตามเงื่อนไข ภายหลังจากรับเงินเวนคืน

เวลาประมาณ 10.00 น.วันที่ 8 พ.ค.68 นายสมโชค อินทร์นรักษ์ อายุ 57 ปี หัวหน้ากองจัดการที่ดิน ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืน พร้อมด้วยทีมงานผู้รับเหมาก่อสร้างทางรถไฟ ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองแพร่ ฝ่ายปกครอง ต.เหมืองหม้อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ แปลงที่ดินผู้ถูกเวนคืนบริเวณ ต.เหมืองหม้อ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ เพื่อทำการเคลียร์พื้นที่ในการก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว เจ้าของที่ดินเพิกเฉย ไม่ดำเนินตามที่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2562 โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองแพร่ มาอำนวยความสะดวก และดูแลความปลอดภัยให้กับทุกฝ่าย โดยมีเจ้าของแปลงที่ดินผู้ถูกเวนคืน ได้มาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รับมอบหมายจากกการรถไฟแห่งประเทศไทย ก่อนจะทำการขนย้ายข้าวของจากอาคารภายในที่ดิน เพื่อนำมาเก็บรักษาให้กับเจ้าของที่ดินก่อนที่จะทำการรื้อถอนอาคาร โดยมีทีมงานเจ้าของแปลงที่ดินผู้ถูกเวนคืน ถ่ายวีดีโอทุกจุดการทำงาน

ทางด้าน นายสมโชค อินทร์นรักษ์ เผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ งบประมาณดำเนินโครงการก่อสร้างการรถไฟมูลค่า 72,835 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการเวนคืนในจังหวัดแพร่ มีจำนวนทั้งหมด 2,843 ราย โดยการเวนคืนที่ดินในจังหวัดแพร่ เหลือของ รายเจ้าของที่ดิน แปลงที่ดินลำดับที่ ท1219, ท1220,ท1221,ท1222,ท1223,ท1220.1 โดยเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนไปทั้งหมดประมาณ 1 งาน 58.1 ตร.ว. และมีสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว คงเหลือพื้นที่ 5 ไร่ 2 งาน 61 ตร.ว โดยที่ดินทั้ง 6 แปลงได้ประเมินราคาจากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นหลักเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนอาคารสิ่งปลูกสร้าง และอื่นๆสำหรับพื้นที่ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ และนำมาคำนวณตามเกณฑ์ที่ควรได้ตามบัญชีรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้น เพื่อดำเนินการเจรจาซื้อขายและกำหนดเงินค่าทดแทนกับผู้เวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนฯ โดยกำหนดราคาให้ราคาสูงสุด 10.9 ล้านบาท โดยทางผู้ถูกเวนคืนไม่พึงพอใจในราคาและไม่ให้ความร่วมมือในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กับการรถไฟฯ

ต่อมา การรถไฟได้พิจารณาความเสียหาย หากไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้จะทำโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ดำเนินการก่อสร้างตามกำหนดระยะเวลาของสัญญา จะเกิดผลกระทบต่อระบบการขนส่งทางราง โดยมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 72,835 ล้านบาท และเกิดการเสียผลประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย และส่งผลกระทบในวงกว้าง การรถไฟจึงได้พิจารณาเข้าดำเนินการตามกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน การเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 28 ในกรณีที่เจ้าของรายใดไม่ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 25 ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ต่อไปโดยเร็ว ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืน พ.ศ.2562 โดยการวางทรัพย์และเข้าพื้นที่ภายใน 90 วัน เพื่อครอบครองพื้นที่และเร่งดำเนินการก่อสร้างฯ ให้แล้วเสร็จต่อไปดังกล่าว

ทางด้าน เจ้าของแปลงที่ดินผู้ถูกเวนคืน เผยว่า สำหรับวันนี้ทางเรายินดีให้เวนคืนอยู่แล้ว แต่เราโต้แย้งกับเขามาตลอดก็คือให้เขาดำเนินการให้ถูกต้องตาม พรบ.เวนคืนฯ การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ถูกต้องตาม พรบ.เวนคืนฯ และตามกฎกระทรวงแต่เขาไม่ได้กำหนดตามกฎกระทรวง เราก็ได้โต้แย้งกันไปรวมทั้งเอกสารที่มันไม่ถูกต้อง เช่น ที่มีการปลอมลายมือเราในการยื่นขอรังวัด เราขอให้เพิกถอน เราจะรวมแปลงก็ไม่ยอมเพิกถอน แล้วก็มาอาศัยการวางเงินอ้างเหตุการณ์วางเงินทั้งๆ ที่การกำหนดราคาการจ่ายชดเชยก็ไม่ได้ถูกต้องตามกฎหมายอยู่หลายข้อ เราโต้แย้งเข้ามาตลอดแต่เขาก็เฉยๆแล้วก็ยืนยันที่จะเข้ารื้อถอนซึ่งเราก็แจ้งเขาแล้วเราไม่ได้ขัด แต่เราไม่ได้ยินยอมเนื่องจากว่าเขาก็ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเราก็จะดำเนินการตามกฎหมายของเราต่อไป.