หลายภาคส่วนพร้อมสนับสนุนพลิกฟื้นโรงเรียนป่าไม้แพร่ให้เกิดคุณูปการ

172
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2565 ณ หอประชุมโรงเรียนป่าไม้ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ได้มีการประชุมภาคีเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาการอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดแพร่ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายอภิชาต โตดิลกเวชช์ สมาชิวุฒิสภา (อดีตผู้ว่าราชการ จ.แพร่/อดีตผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา/อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน) กองทุนพัฒนาอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดแพร่พระโกศัยเจติยารักษ์ ดร. รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่ ประธานกองทุนพัฒนาอุดมศึกษาในพื้นที่จังหวัดแพร่นายวิเชียร อนุสาสนนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กรมป่าไม้ มีนายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ (ศิษย์เก่าโรงเรียนป่าไม้แพร่ รุ่น ๒๙) นายจีระ ทรงพุฒิ ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่

จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาวิณี  สัตยาภรณ์   อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอุดมศึกษาในพื้นที่  รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ  พันธุ์เวช  นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ดร.ภาณุรังษี  เดือนโฮ้ง  ผู้แทนภาควิชาการสาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ นายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่  นายเสรี ทรงศักดิ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ จากเทศบาลเมืองแพร่ นายโชคชัย พนมขวัญ นายกเทศมนตรีเมืองแพร่  หอการค้าจังหวัดแพร่ นายปัญจพล ประสิทธิโศภิน  ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดแพร่  สภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ นายกฤตานนท์ ถนอมทรัพย์ทวี  ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่  สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดแพร่  นางเสาวลักษณ์ วิสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดแพร่  สภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ นายเอกชัย วงศ์วรกุล ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่  ศูนย์วิทยบริการจังหวัดแพร่  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ดร.สุประวีณ์ อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยศูนย์วิทยบริการจังหวัดแพร่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์วิทยาลัยชุมชนแพร่  ดร.ประทีป  บินชัย  ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนแพร่และคณะทำงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง

 ทางด้านนายโชคชัย พนมขวัญ นายกเทศมนตรีเมืองแพร่ ซึ่งเข้าร่วมประชุมด้วย ได้มีการประชุม เพื่อ พัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้ เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ  ได้สรุป คร่าวๆดังนี้ 1. เป็นปอดของคนเมืองแพร่ โดยร่วมกับเทศบาลเมืองแพร่เชื่อมโยงกับคูเมืองหลังพระสังกัจจายน์ 2. เตรียมหลักสูตรป่าชุมชน รวมถึง ความร่วมมือในการเพิ่มพื้นที่ป่าร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3. พัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่น เฟอร์นิเจอร์ซิตี้ รุกขกร การตั้งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ผืนป่าเพื่อเสริมรายได้

4. เป็นสถานที่สำหรับการวิจัยการพัฒนานวัตกรรม พันธุ์ไม้ที่หลากหลาย

5. จัดเป็นศูนย์อบรมรวมถึงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับป่าไม้

มีการมอบหมายคณะทำงาน ไปศึกษารายละเอียด  โดยโรงเรียนป่าไม้แห่งนี้จะอยู่ภายใต้การดูแลของกรมป่าไม้ในวันที่ 1ตุลาคม 2565 รอติดตามความคืบหน้า อดีตโรงเรียนป่าไม้แพร่ เปิดเมื่อปี 2499 โดยมีอาจารย์รัตน์ พนมขวัญ เป็นผู้อำนวยการคนแรก จนถึงปี พ.ศ. 2536 ก็ได้ยุติการเรียนการสอนของโรงเรียนป่าไม้