อนุวัธฯ ชู 9 นโยบาย 9 ด้าน พร้อมก้าวไปด้วยกัน  ตามวิสัยทัศน์ : พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยเศรษฐกิจ สร้างสรรค์สืบสานภูมิปัญญา เมืองอัจฉริยะสู่สากล

429
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

………ตามที่จะมีการเลือกตั้ง นายก อบจ.แพร่ และ สมาชิกสภาอบจ.แพร่ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ที่จะถึงนี้ นายอนุวัธ วงศ์วรรณ  ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ เบอร์ 2  ได้ออกมาเผยนโยบายแก่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยมีนโยบายดังนี้ มุ่งเน้นการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ แบบบูรณาการ ร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมทำกับทุกภาคส่วนทั้งภาคราชการ-เอกชน รัฐวิสาหกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มพลังมวลชนต่างๆและพี่น้องประชาชน ดังนี้

นโยบายที่ 1 ด้านการสาธารณสุขชุมชนและสังคมผู้สูงวัย

-พัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)ให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยครอบคลุมการดูแลรักษาในระบบปฐมภูมิ, ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อปรึกษาแนะนำติดตามการเยี่ยมบ้านกับแพทย์

-พัฒนา ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ให้กับบุคลากร รพ.สต. อสม. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น

-พัฒนาประสิทธิภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (1669) ให้ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์

-จัดตั้ง”สถานีสุขภาพหมู่บ้าน” (Health Station) เพื่อการดูแลให้ใกล้ชิด การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

-จัดตั้ง-ศูนย์ซ่อมและยืมคืน กายอุปกรณ์ทางการแพทย์” สำหรับผู้ป่วย , ผู้พิการ , ผู้ด้อยโอกาส

-สนับสนุนการจัดตั้ง “ศูนย์บำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคมของผู้ป่วยยาเสพติดและจิตเวช” เพื่อมิให้เป็นภาระและอันตรายต่อสังคมและคนรอบข้าง

-ส่งเสริมสนับสนุนให้มีโรงเรียนผู้สูงอายุในทุกตำบล เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุและจัดกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้เป็น ผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

-ส่งเสริมและสนับสนุนโรงพยาบาลอำเภอให้ผู้ป่วยโรคไตได้เข้าถึงบริการโดยสะดวก รวดเร็ว

-ส่งเสริมสนับสนุนให้ รพ.สต. มีบริการการแพทย์แผนไทย

-ปรับสภาพบ้านและสนับสนุนกายอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูผ่านกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด

-จัดบริการ รพ.สต. เชิงรุก ด้านการรักษาในพื้นพี่ห่างไกล

นโยบายที่ 2 ด้านการศึกษาและกีฬา จัดทุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่นักศึกษาที่มีภูมีลำเนาในจังหวัดแพร่จัดทุนการศึกษาแพทย์ พยาบาลเพื่อจะได้กลับมาทำทางานในจังหวัดแพร่

-จัดการทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ผู้ปกครองมีฐานะขัดสนทุกระดับชั้น

-จัดให้มีการสอนพิเศษเพื่อเตรียมสอบวัดผลระดับชาติและเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย

-ส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันกีฬานักเรียนและประชาชนทุกระดับ

-ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ลูกเสือชาวบ้านและจิตอาสา

-สนับสนุนการทัศนศึกษาของนักเรียน ประชาชนให้มีประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมกีฬากลุ่มชาติพันธุ์เพื่อเผยแพร่ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

-ยกระดับความร่วมมือด้านมหกรรมกีฬาและส่งเสริมศักยภาพการกีฬาระดับชาติและนานาชาติพัฒนาการศึกษาทั้งในและนอกระบบโดยร่วมมือกับสถาบันต่างๆ พัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของตลาดแรงงานจบแล้วสามารถทำงานได้

-ปรับปรุงภูมิทัศน์และอุปกรณ์กีฬา อาคารกีฬา สนามกีฬา ของ อบจ. ให้ได้มาตรฐานสำหรับประชาชนทุกช่วงวัย รองรับการแข่งขันระดับจังหวัดและระดับประเทศ สนับสนุนการดำเนินงาม,กิจกรรมพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชน,กลุ่มสตรีแม่บ้าน

-ส่งเสริมมหกรรมวิชาการและสนับสนุนการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

นโยบายที่ 3 ด้านการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคและบริโภค

-พัฒนาแหล่งน้ำ อ่างเห็บน้ำ ลำคลอง หนอง บึงต่างๆ เพื่อให้กักเก็บน้ำได้มากที่สุด

-ก่อสร้างฝ่ายแกนดินซีเมนต์ในทุกพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อยกระดับน้ำใต้ดินและกักเก็บน้ำเพื่อการประปาหมู่บ้านและเกษตรกรรม

-ขุดเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ

-ส่งเสริมการใช้เครื่องสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกร

-จัดให้มีศูนย์บริการน้ำดื่มสะอาดเพื่อประชาชนใน รพ.สต.ยกระดับศูนย์บริหารจัดการน้ำเพื่อตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาวะต่างๆ

นโยบายที่ 4 ด้านการคมนาคมและความปลอดภัย

-ผลักดันกับส่วนราชการในการสร้างระบบโครงข่ายเชื่อมโยงการคมนาคม ขนส่งระหว่าง รถไฟรางคู่และถนนสี่เลนระหว่างอำเภอ,จังหวัดและการขยายสนามบิน

-ทำถนนที่อยู่ให้ความรับผิดชอบของ อบจ.ให้อยู่ในสภาพที่ดี มีไฟฟ้าส่องสว่าง สัญญาณจราจรในจุดที่เป็นทางโค้งและทางอันตราย

-ทำถนนหินคลุกบดอัดในพื้นที่การเกษตรเพื่อความสะดวกประหยัดในการลำเสียงผลผลิตการเกษตร

-ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เที่ยวข้องเพื่อเพิ่มเติมตรวจแก้ไขจุดติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในจุดเสียงภัยเพื่อป้องกัน และติดตามการกระทำผิด

-สนับสนุนการฝึกอบรมเพื่อระงับ ป้องกันเหตุ และช่วยเหลือชีวิต ให้กลุ่มต่างๆ เช่น หน่วยกู้ภัย ตำรวจบ้าน จิตอาสา ฯลฯ

นโยบายที่ 5 ด้านศาสนาศิลปวัฒธรรม ประเพณีและการท่องเที่ยว

-ร่วมกับหน่วยงานต่างๆพัฒนาป่านันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

-ส่งเสริมให้จังหวัดแพร่เป็น “เมืองแห่งตุง” โดยการจัดอบรมการทำตุงชนิดต่างๆ ให้ทั่วจังหวัด

-สนับสนุนกิจกรรมทางคาสนาเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เด็กเยาวชนและประชาชนในจังหวัด

-พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆที่มีศักยภาพและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มเติมให้มีความสะดวกสบายในการรองรับการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว เช่น แหล่งท่องเที่ยวธรณีวิทยาต่างๆ

-ส่งเสริมสนับสนุนท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้ง 12 เดือน เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ทั่วจังหวัดแพร่สนับสนุนการดำเนินงานเครือข่ายปราชญ์ท้องถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน ช่างฝีมือพื้นเมือง ครูภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ ของคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่

นโยบายที่ 6 ด้านการอนุรักษ์ พื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการป่าชุมชนให้เป็นแหล่งอาหารและแหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน

-แก้ไขปัญหา ไฟป้า หมอกกวัน และฝุ่นละออง ( PM 2.5 ) โดยการสร้างฝ่ายแกนดินซีเมนต์ในลำห้วยต่างๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ป่า

-จัดทำผังน้ำทั้งจังหวัด เพื่อการพิจารณาผันน้ำไปสู่พื้นที่แก้มลิงและลำน้ำต่างๆ ที่มีปริมานน้ำน้อยเพื่อลดความเสียหายในพื้นที่ประสบภัยพื้น

-กำจัดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลและ รพ.สต.ด้วยเตาเผาขยะความร้อนสูงปลอดมลพิษด้วย

-ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำศูนย์พักพิงสัตว์ต่างๆ ที่ถูกทอดทิ้ง

-ร่วมมือกับหน่วยงามต่างๆในการติดตั้งโทรมาตร เพื่อการจัดการน้ำหลาก ภัยแล้งให้แม่นยำและทั่วถึง

-ศึกษาหาแนวทางแก้ไขพื้นที่แห้งแล้งให้ได้รับน้ำอย่างทั่วถึง

นโยบายที่ 7 ด้านเศรษฐกิจและการตลาด

– ตั้ง “ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบจังหวัดแพร่” (TCDC) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์

– จัดอบรมการตลาดออนไลน์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและเกษตรกร เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด

– ร่วมกับสำนักงานเกษตรในการเก็บข้อมูลผลิตกัณฑ์เกษตรต่างๆ เพื่อจัดทำการตลาดล่วงหน้า

– สนับสนุนการแปรรูปผลผลิตการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า

– ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) และวิสาหกิจชุมชน (SME) ให้มีคุณภาพ มาตรฐานด้านการผลิต และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของตลาด

– จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดใหม่เพื่อจำหน่ายผลิตลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ เช่น ไม้สัก สุราพื้นบ้าน ผ้าทอ และผ้าหม้อห้อมอย่างครบวงจรและต่อเนื่องพร้อมเผยแพร่ระดับประเทศและเข้าสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน

– สนับสนุนการพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ถนนเจริญเมือง เป็น”พื้นที่สร้างสรรค์” (Creative Space)ต้นแบบของเครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ (TCDN) และจะขยายผลไปทุกอำเภอ

– สนับสนุนการเป็นเจ้าภาพมหกรรม เทศกาลส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเครือข่ายระดับประเทศและกิจกรรมพัฒนานักออกแบบสร้างสรรค์รุ่นใหม่ใน จังหวัดแพร่

– ริเริ่มการจัดงานหม้อห้อมโลก งานไม้สักโลก เพื่อให้ จังหวัดแพร่เป็นศูนย์กลางการจัดการองค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่

นโยบายที่ 8 ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบสารสนเทศ

– ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาและยก ระดับคุณภาพชีวิตประชาชน จ.แพร่ เช่น ด้านเกษตร ด้านการศึกษา ด้านการสาธารณสุข ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

– ร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันต่างๆ เพื่อนำผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีดารเกษตรมาประยุกต์ใช้กับการเกษตรในจังหวัด เช่น การใช้โครนตรวจวัดความสมบูรณ์ของพืชชนิดต่างๆ และตรวจโรค

– ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกป่าเพื่อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อสร้างรางรายใต้

– ร่วมมือกับท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ ผลักดันให้ จ.แพร่ เป็น”เมืองอัจฉริยะ” ( Smart City)

นโยบายที่ 9 ด้านคุณธรรมจริยธรรมและความโปร่งใส

– จัดให้มีการอบรมสัมมนาด้านคุณธรรมจริยธรรมและความโปร่งใส ทั้ง อบจ. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่ว จ.แพร่

– ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาติดตามและเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการต่างๆ

– จัดทำประชาคมในการให้ความเห็นชอบในการดำเนินงานโครงการต่างๆ

หมายเหตุ : นโยบายต่างๆ อาจจะมีการปรับเสริมเพิ่มเติมตามสถานการณ์และความต้องการ ความเดือดร้อนของประชาชนในทุกสาขาอาชีพที่เสนอเพิ่มเติมมาเพื่อแก้ปัญหา ให้สำเร็จลุล่วง ทั้งนี้ ภายได้กรอบอำนาจหน้าที่และระเบียบ กฎหมายท้องถิ่นที่กำหนด