
เวลา 9.30 น วันที่ 5 กันยายน 2567 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดแพร่ ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดแพร่ ซึ่งมีนายชุติเดช มีจันทร์ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยในที่ประชุมวันนี้ภาคเอกชนจังหวัดแพร่ได้ร่วมกันนำเสนอ ขอให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประกอบการภาคธุรกิจและประชาชนชาวจังหวัดแพร่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม โดยภาคเอกชนนำโดย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ หอการค้าจังหวัดแพร่สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ ชมรมธนาคารแพร่ สภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ เป็นตัวแทนผู้ประกอบการ ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เพื่อขอให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปโดยใจความในหนังสือ มีดังนี้

เรื่อง ขอความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก อุทกภัยเรียน ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ขอความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เมื่อ วันที่ 21-26 สิงหาคม 2567 ได้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดแพร่ ทําให้น้ำยมเกิดล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน ใน พื้นที่ 8 อําเภอ 41 ตําบล 203 หมู่บ้าน 17,539 ครัวเรือน 18 ชุมชน ซึ่งได้นับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 30ปี ซึ่งได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างรวมถึงภาคธุรกิจผู้ประกอบการร้านค้า sme บริษัท ห้างร้านต่างๆมากมาย บางราย

ดังนั้นภาคเอกชนจึงได้รวบรวมข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการต่างๆเพื่อเสนอมายังท่าน เพื่อโปรด พิจารณาให้ความช่วยเหลือเยียวยา ช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคเอกชน รวมถึงลูกจ้างแรงงาน ประชาชนชาว จังหวัดแพร่ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้ ตามที่ได้เสนอมาดังนี้

1.งดการจัดเก็บภาษีนิติบุคคล ภาษีเงินได้ 3 ปีที่ธุรกิจ สินค้า อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบธุรกิจได้ถูกน้ําท่วมเสียหายเป็นจํานวนมาก แทบสิ้นเนื้อประดาตัว มีโอกาสที่หลายแห่งจะปิดกิจการ ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงการเลิกจ้างแรงงาน
2.งดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยให้ภาครัฐต้องเข้ามาชดเชยให้กับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นแทน เป็นเวลา 3 ปี
3.งดเว้นการเก็บเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
4.ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการ ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ลง 3% เป็นเวลา 3 ปี
5.เพิ่มวงเงิน soft loan เพื่อชดเชยความเสียหาย อัตราดอกเบี้ย 1% พักชําระหนี้
6.มีมาตรการเยียวยา ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรม
7.ให้ลดค่าใช้จ่ายด้ายสาธารณูปโภค อุปโภค
8.งดภาษีป้าย งดการเก็บภาษีโรงแรม ภาษีโรงเรือน ใบอนุญาตในการประกอบกิจการ และน้ํามัน 3ปี
9.มีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเร่งด่วนเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ
10.เพิ่มบุคลากร ของสํานักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแพร่ เพื่อรองรับแผนงานโครงการ ฟื้นฟู เศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยว และสอดรับกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล
ซึ่งมาตรการที่ได้เสนอมายังท่านนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจให้แก่ผู้ประกอบการ และประชาชนชาวแพร่ที่ได้รับผลกระทบจาก อุทกภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ ให้สามารถฟื้นตัวและเดินหน้าต่อไปได้จึงขอเรียนมาเพื่อขอความช่วยเหลือจากท่านเพื่อโปรดพิจารณา
