ผวจ.แพร่ สักการะอนุสาวรีย์เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร ณ โบราณสถานคือเวียง “

129
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

เมื่อบ่ายวันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2565 เวลา 13.45 น. ณ โบราณสถานคือเวียง ตำบลป่าสัก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอวังชิ้น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก กำนันตำบลป่าสัก ดร.โฉมฉาย กาศโอสถ  และประชาชนในพื้นที่ เข้ากราบสักการะอนุสาวรีย์เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร

โดยอนุสาวรีย์ทำการเปิดไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 โดย นายวิเชียร ศาสนนันท์ รอง ผวจ.แพร่ เป็นประธานพิธีเปิดงานสมโภชราชานุสาวรีย์เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร ณ.คือเวียง(เมืองเก่า)โดยมีนายกฤติเดช  สันติวชิระกุล  สส.แพร่ เขต 2 นายปานศร ภมรคนธ์ นายอำเภอวังชิ้น,นายอธิวัฒน์ อารัญ ปลัดหัวหน้างานสำนักปลัดอำเภอวังชิ้น,นายปฎิพล จอมดวง สจ.แพร่เขต2 วังชิ้น,นางกุลชา  บัญสว่าง สจ.แพร่เขต1 วังชิ้น,อ.มานะ  กาศโอสถ นายก อบต.บ้านกาศ,อ.อัมพร ฐานะวุฒิกุล นายก อบต.สรอย,นายกฤต สินทะมณี นายก อบต.ป่าสัก ,นายวัชรินทร์ ครองสุวรรณ,นายสานิตย์ นันทสุวรรณ  ประชาชน ต.ป่าสักและพี่น้องประชาชน ชาว ต.ป่าสัก ได้หาบสู่มหมากสู่มปู ,ตุงจัยและกองผ้าป่าของแต่ละหมู่บ้าน ได้ถวาย แด่ดวงวิญญาณของเจ้าหลวงหมื่นด้งนคร

 …………หลังจากเสร็จพิธีทางศาสนาได้ชมการแสดงรำไหว้สาเจ้าหลวงหมื่นด้งนคร ของแม่บ้านทั้ง10หมู่บ้านของ ต.ป่าสัก การรำประกอบตีกลองกองสบัดชัยของ นร.บ้านป่าสัก/ปางไม้ต่อมาได้มอบเกียรติบัตรให้คณะกรรมจัดงาน และรับมอบของที่ระลึกจากกำนัน ต.ป่าสัก,นายก อบต.แล้วกล่าวเปิดงาน โดยมี อ.ดร.โฉมฉาย  กาศโอสถ ผอ.ร.ร.บ้านป่าสัก/ปางไม้ ประธานเครือข่ายพัฒนาเวียงด้งนคร กล่าวรายงานประวัติเจ้าหลวงหมื่นด้งนคร  ถึงความเป็นมาในอดีต ลูกหลานชนรุ่นปัจจุบัน ได้นึกถึงบุญคุณและเคารพศรัทธา จึงได้ร่วมแรงร่วมใจบริจาคเงินและได้สร้างเหรียญให้เช่าบูชา ได้เงินมาจนครบที่กำหนด จึงได้สร้างป้ายกับราชานุสาวรีย์ฯตั้งประดิษฐานเอาไว้ที่คือเวียงเมืองเก่าแห่งนี้ซึ่งเป็น สถานที่เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร ได้สร้างเมื่อ 500 กว่าปีที่ผ่านมา ไว้เป็นอนุสรณ์สถานให้ลูกหลานได้ศึกษาสืบทอดต่อไป

   ประวัติย่อๆของเจ้าหมื่นด้งนคร ดังนี้(ขออนุญาตใช้ภาษาพื้นบ้านเพื่อให้เข้าใจง่าย ไม่ใช้ราชาศัพท์) เจ้าหมื่นด้ง เป็นราชบุตรของ  เจ้าแสนเมืองมา แม่นางศรีวรรณ บ้านแม่วาง ปัจจุบันเป็น อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ มีศักดิ์เป็นลุงของพระเจ้าติโลกราช และเป็นทหารเอก นักรบที่มีฝีมือเชี่ยวชาญด้านการรบ ของแผ่นดินล้านนาสมัยพระเจ้าติโลกราช ในยุคนั้น ไม่มีกองทัพใดเข้าตีทัพของล้านนาได้ ไม่ว่ากองทัพจากล้านช้าง,กองทัพพม่าและกองทัพกรุงศรีอยุธยา ไม่สามารถเข้าตียึดครองแผ่นดินล้านนาได้ เจ้าหลวงหมื่นด้งเข้ารบจนได้รับชัยชนะ

จึงได้รับความไว้วางใจให้ไปครองเมืองเขลางค์,เมืองเชลียง ต่อมาได้มาสร้างฐานทัพไว้เป็นด่านหน้า บนเนินดินทางทิศตะวันออกบ้านแม่กระต๋อม ม.6 ต.สรอย ปัจจุบันแยกมาเป็น ต.ป่าสัก อ.วังชิ้น ท้ายสุดได้มาตั้งเมืองอยู่เมืองเชียงชื่น (เจียงจืน)ได้ถูกคนที่อยู่ใกล้พระเจ้าติโลกราชใส่ความเจ้าหลวงหมื่นด้งว่าเป็นผู้คิดกบฎ ต่อเจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงถูกพระเจ้าติโลกราชเรียกเข้าพบ โดยมีเสียงทักทานจากครอบครัว,ทหารบริวารไม่ให้เจ้าหมื่นดังขึ้นไปพบ เพราะเชื่อว่าถ้าไปแล้วจะไม่ได้กลับมาอีก ด้วยความมั่นใจว่าฐานจะเป็นลุง เป็นนักรบ ผู้ซื่อสัตย์มาตลอด คิดว่าไม่มีอันตรายใดๆ จากนั้น เจ้าหมื่นด้ง ไม่ได้กลับมาอีกเลย(รายละเอียด มีในหนังสือประวัติเจ้าหลวงหมื่นด้งนคร )

ต่อมา  พี่น้องประชาชนชาว ต.สรอย ทุกหมู่บ้านจึงได้ตั้งหอเจ้าหลวงขึ้น เรียกสืบทอดกันมาว่า ศาลเจ้าพ่อเมืองด้ง  ไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจปกป้อง คุ้มครอง รักษาให้บ้านเมืองมีความสงบสุข ถึงประเพณี ที่เป็นความเชื่อมา500 กว่าปี เดือน 5 และก่อน 9 เหนือ พี่น้องชาว ต.สรอย/ป่าสัก นำหมู ไก่ ข้าวสุก,สวยดอกไม้ธูปเทียน นำไปเซ่นไหว้ถวายเจ้าพ่อเมืองด้งหรือหมื่นดงนครและบริวาร