วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มช.จัดโครงการ “มีดี” (MEDEE) พลังเกษียณสร้างชาติที่ร.ร.ผู้สูงอายุต.บ้านถิ่นม่วนใจ๋

117
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ห้องประชุมร.ร.ผู้สูงอายุม่วนใจ๋ตำบลบ้านถิ่น อ.เมือง จ.แพร่ ซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารธรรมโอภาสวัดถิ่นใน วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มช.จัดโครงการ “มีดี” (MEDEE) พลังเกษียณสร้างชาติ เครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุภาคเหนือ ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ “มีดี” สำหรับผู้สอนโรงเรียนผู้สูงอายุ ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ (Train the Trainer.)

ในการจัดกิจกรรม โดย พระครูปิยวรรณพิพัฒน์ประธานเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุ 17 จังหวัดภาคเหนือ แนะนำโครงการพลังเกษียณสร้างชาติโดย รศ.ดร.นัทธี สุรีย์  รองผู้อำนวยการฯ วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรพร้อมคณะมี พระครูพิบูลพัฒนโกศล เจ้าคณะอำเภอเมืองแพร่ พระสมุห์ภาณุพงศ์ ภูริปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถิ่นใน น.ส.สุรีย์ ทาประเสริฐ เลขานุการนายกอบจ.แพร่ พ.ต.ท.ธงชัย เนื่องพืช นายก ทต.บ้านถิ่น อาจารย์อรุณ ทิพยวงศ์ ประธานเครือข่ายผู้สูงอายุจังหวัดแพร่ ผอ.ร.ร.ผู้สูงอายุในจ.แพร่ พม.แพร่ ผู้นำท้องถิ่น ต.บ้านถิ่น เข้าร่วมต้อนรับและน.ส.นุชศุภางค์ ถิ่นเดิม ผอ.ร.ร.ผู้สูงอายุบ้านถิ่นม่วนใจ๋ นำนักเรียนผู้สูงอายุ ร.ร.บ้านถิ่นม่วนใจ๋เข้ารับการอบรม 60 คน ใช้เวลาในการอบรมเป็นเวลา 1 วัน จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่11ที่ วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มช.จัดโครงการ “มีดี” (MEDEE) พลังเกษียณสร้างชาติ เข้ามาดำเนินการ

โครงการ “มีดี” (MEDEE) พลังเกษียณสร้างชาติ คือ ระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะงานในยุคดิจิทัลสำหรับผู้สูงวัย และระบบสนับสนุนเชิงเทคนิคของคนรุ่นใหม่สู่การนำไปใช้ที่ยั่งยืนภายใต้การดำเนินงานโดยวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พัฒนา “มีดี” หรือ MEDEE : Mutti- generation Entrepreneur Development Educational Ecosystem ซึ่งเป็นระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาทักษะงานในยุคดีจิทัลสำหรับผู้สูงวัย รวมทั้งพัฒนาระบบสนับสนุนเชิงเทคนิคของคนรุ่นใหม่เข้ามาผสานกำลังเพื่อที่จะสามารถนำองค์ความรู้และทักษะเหล่านั้นไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างยั่งยืนประกอบด้วยการดำเนินงาน คือ มีดี: ชุมชนคนมีดี มีดีตลาดคนมีดี และโรงเรียนผู้สูงอายุดิจิทัล “เกษียณมีดี”

โรงเรียนผู้สูงอายุติจิทัล “เกษียณมีดี” จัดการเรียนรู้ให้อยู่ในรูปแบบ Web-based platform โดยเป็นเว็บไซต์ย่อย (subsite) ผ่านเว็บไซต์หลักของวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประกอบตัวระบบการขึ้นทะเบียนเป็นผู้เรียน ระบบการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรออนไลน์ผ่านระบบCMU MOOC ระบบการออกประกาศนียบัตรการผ่านการเรียนรู้ และระบบการเก็บประวัติการเรียน (eportfolio) ของผู้เรียน รวมทั้งจัดทำเมนูการเรียนรู้สำหรับเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดการมองเห็นและเข้าถึงง่าย รวมทั้งสามารถใช้เป็นแหล่งความรู้เพื่อเสริมหรือต่อยอดการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติได้ (Onsite Training โดยหลักสูตรเสริมความรู้นั้น จะประกอบไปด้วย 4 ด้าน ได้แก่ หมวดที่ 1 การรู้เท่าทันติจิทัส(Digital Literacy) หมวดที่ 2 การใช้แพลตฟอร์มทางเทคโนโลยี (Digital platforms for SME)หมวดที่ 3 กลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing Strategy) และหมวดที่ 4 หลักสูตรการสร้างอาชีพและการการสร้างแรงบันดาล (Future Jobs and inspiration for retirements) “มีดี: ชุมชนคนมีดี” เป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community – PLC)และระบบการสนับสนุนผู้สูงอายุด้วยคนรุ่นใหม่ผ่าน Facebook group

เพื่อให้เกิดเครือข่ายผู้สูงอายุ ที่มีการแบ่งปันความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างวัย ให้เกิดความร่วมมือเชิงเทคนิคที่เสริมหรือเติมเต็มและกัน โดยเชื่อมโยงไปยัง “มีดี ตลาดคนมีดี” ที่เป็นแหล่งรวมรวมขายสินค้าหรือบริการที่เกิดจากผู้สูงอายุร่วมมือของผู้สูงอายุ ผ่าน Facebook group มีการทำการตลาดออนไลน์ (digital marke)ประชาสัมพันธ์ในภาพรวมเพื่อให้เกิดการมองเห็นผ่านสังคมออนไลน์ (social media) และผ่านแอปพลิเคชั่นพร้อมทั้งการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้บริการทั้งผู้ขายและผู้ซื้อจากการดำเนินงานข้างต้น มีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ต้องมีการเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาภาวะพึ่งพิงของคนสูงวัยที่มีอัตราส่วนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะความพร้อมทางด้านทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีติจิทัลของผู้สูงวัย รวมถึงทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสาร และการบริหารจัดการธุรกิจ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาพื้นฐานความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุให้มีความพร้อมและสามารถนำไปต่อยอดการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลต่อไปได้

 ทางโครงการฯ จึงดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ “มีดี” สำหรับครูแกนนำ ครูอาสาสมัคร หรือวิทยากร จากโรงเรียนผู้สูงอายุ และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)ในเขตพื้นที่ภาคเหนือขึ้น เพื่อเสนอระบบนิเวศการเรียนรู้สำหรับผู้สูงวัย “มีดี” แก่ครูโรงเรียนผู้สูงอายุ ที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนด้านดิจิทัลในโรงเรียนผู้สูงอายุแต่ละพื้นที่ ตลอดจนผลักดันให้โรงเรียนผู้สูงอายุกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านดิจิทัล “มีดี” แก่ผู้สูงวัยแต่ละพื้นที่ในเขตภาคเหนือ

วัตถุประสงค์โครงการเพื่อนำเสนอระบบนิเวศการเรียนรู้ “มีดี” สำหรับผู้บริหาร ครูแกนนำ ครูอาสาสมัคร หรือวิทยากร

จากโรงเรียนผู้สูงอายุ และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การใช้เครื่องมือระบบนิเวศการเรียนรู้ “มีดี” สำหรับผู้สอนโรงเรียนผู้สูงอายุ ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ด้านดิจิทัล

สำหรับผู้สอนโรงเรียนผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ในพื้นที่17 จังหวัดภาคเหนือ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เข้าร่วมโครงการ

ผู้บริหาร ครูแกนนำ ครูอาสาสมัคร หรือวิทยากร จากโรงเรียนผู้สูงอายุ และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวนประมาณ 850 คน