ยูเนสโก ขึ้นทะเบียนภาพยนตร์ “พระเจ้าช้างเผือก”เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก จ.แพร่ โดยวัดพระธาตุช่อแฮ เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ฉากสำคัญฉากหนึ่ง

86
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

วันที่ 23 เม.ย.68 เวลา 09.00น.พระโกศัยเจติยารักษ์,ดร.รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อ พระอารามหลวง เจริญพรว่าเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จังหวัดแพร่ โดยวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ได้เป็นส่วนหนึ่งของฉากการถ่ายทำภาพยนตร์ “พระเจ้าช้างเผือก”ซึ่งองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ ยูเนสโก (UNESCO) ขึ้นทะเบียนเป็นเอกสารเป็นความทรงจำโลกโดยหนึ่งนั้นคือภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก ในการนี้วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ได้นำภาพยนตร์ในฉากที่เกี่ยวข้อง มาฉายในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุช่อแฮ เพื่อให้ประชาชน นักเรียนนักศึกษาได้ชม

ซึ่งในวันที่ 17 เมษายน 2568ที่ผ่านมา องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ขึ้นทะเบียนเอกสารจำนวน 74 รายการเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) โดยหนึ่งในนั้นคือ ภาพยนตร์ ‘พระเจ้าช้างเผือก’ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง (The King of the White Elephant and the archival documents) จากประเทศไทย‘พระเจ้าช้างเผือก’ เป็นภาพยนตร์เสียง ขาว-ดำ อำนวยการสร้างและเขียนเรื่องโดย ปรีดี พนมยงค์ จัดสร้างขึ้นเมื่อปี 2483 ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ ข้อมูลจากหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ระบุว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องสันติภาพให้แก่นานาประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รวมถึงแสดงเจตนารมณ์ว่า คนไทยกลุ่มหนึ่งไม่เห็นด้วยกับผู้นำรัฐบาลไทยในขณะนั้นที่กำลังนำพาประเทศเข้าสู่สงครามยูเนสโกระบุว่า ในมุมมองของเอกสารจดหมายเหตุ ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นผลงานภาพยนตร์ไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เรื่องเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ จึงมีคุณค่ามากในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับวงการบันเทิงในยุคนั้น

ในโอกาสนี้ วันโอวันชวนย้อนอ่าน ‘ศาสตร์พระเจ้าจักรา กับสารที่ “พระเจ้าช้างเผือก” สื่อ’ โดย กษิดิศ อนันทนาธร ถึงศาสตร์ของพระราชานามพระเจ้าจักรา ทั้งด้านการปกครองอย่างสันติ เป็นประชาธิปไตย และเห็นแก่ความสุขของราษฎรยิ่งกว่าความสุขส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นบทความที่เขียนขึ้นในวาระครบรอบ 80 ปี การฉายรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก 4 เมษายน 2564

นอกจากภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือกแล้ว ยังมีเอกสารที่ประเทศไทยเป็นผู้เสนอและร่วมเสนอด้วยอีกสองรายการ ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก คือ• The Birth of the Association of Southeast Asia Nations (ASEAN) (Archives about the Formation ASEAN, 1967 – 1976) (การกำเนิดของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) (เอกสารเกี่ยวกับการก่อตั้งอาเซียน, 1967 – 1976)) ร่วมเสนอโดย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย• The Manuscript of Nanthopananthasut Kamlaung (22 July, 1736) (เอกสารต้นฉบับ นันโทปนันทสูตรคำหลวง (22 กรกฎาคม พ.ศ.2279)) เรื่องและภาพประกอบ: เมธากุล ชาบัญ

อ่านได้ที่: https://www.the101.world/the-king-of-the-white-elephant