กรรมาธิการการสาธารณสุข ดูงานการแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อหาวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย

72
0
- ผู้สนับสนุนแพร่ข่าว -

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568  นายแพทย์ทศพร  เสรีรักษ์ ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุขสภาพุทธ นำคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร ซึ่งจุดประสงค์ของการเดินทางไปศึกษาดูงานครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเยี่ยมชม การดำเนินงาน การเตรียมความพร้อม การบริหารจัดการ และการให้บริการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ของกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในการดำเนินงาน อันจะนำไปสู่การพัฒนางานด้านการสาธารณสุขอย่างเหมาะสม โดยมี นายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ และนายแพทย์จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน พร้อมคณะให้การต้อนรับ

นายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ กล่าวถึงระบบเวชศาสตร์ฉุกเฉิน Emergency Medical Service (EMS) ว่ามีความสามารถให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้บาดเจ็บ ที่มีความพร้อมสูงประกอบด้วยระบบการรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล และระบบห้องฉุกเฉิน การให้การรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล (Pre-Hospital Care) ซึ่งประกอบด้วยศูนย์บัญชาการกู้ชีพนเรนทรเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว และแพทย์ พยาบาล หน่วยกู้ชีพออกไปให้บริการ ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อให้ผู้ประสบเหตุได้รับการรักษาพยาบาลอย่างถูกวิธีและทันเวลา

โดยพันธกิจประการสำคัญอีกประการหนึ่งของกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คือ การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (Residency Training in Emergency Medicine) ซึ่งเป้าหมาย คือ ผลิตแพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพและจริยธรรมตามมาตราฐานวิชาชีพ ผลิตแพทย์ฉุกเฉินเข้าสู่ระบบบริบาลสุขภาพของรัฐ และผลิตแพทย์ฉุกเฉินที่ให้บริการทางวิชาการ

สำหรับการโทร 1669 ทั่วประเทศในอดีต เมื่อพ.ศ 2538 กรมการแพทย์ โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดโครงการต้นแบบการรักษาพยาบาล ณ ที่เกิดเหตุขึ้นที่ โรงพยายาบราชวิถี ในนาม “ศูนย์กู้ชีพนเรนทร” ผ่านเบอร์ 248-2222 ต่อมาใน พ.ศ. 2541-2542 จนถึงปัจจุบัน ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการแบ่งพื้นที่ให้บริการระหว่างหน่วยบริการของสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และหน่วยบริการของเอกชน เพื่อลดปัญหาความสับสน โดยใช้เบอร์ 1669 หากมีการแจ้งเหตุนอกโซน ผู้รับแจ้งจะส่งต่อข้อมูลให้หน่วยบริการที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้น ๆ สำหรับการโทรในกรุงเทพจะไปยังศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)

หลังจากนั้นนายแพทย์จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน” โดยทางโรงพยาบาลราชวิถีตระหนักถึงการเสียชีวิตและพิการที่ไม่สมควรเนื่องจากความล่าช้า การนำส่งที่ผิด จึงเริ่มต้น โครงการต้นแบบระบบการรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล สรุปได้ ดังนี้

โครงสร้างองค์กร กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ประกอบด้วย ศูนย์กู้ชีพนเรนทร ห้องฉุกเฉิน ห้องสังเกตอาการ และศูนย์ส่งต่อผู้ป่วย

ซึ่งภารกิจศูนย์กู้ชีพนเรนทร ประกอบด้วย 5 ประการสำคัญ คือ

1. ศูนย์สื่อสาร และสั่งการ (Dispatch center) ในพื้นที่ zone 8 กรุงเทพมหานคร (พญาไท, ห้วยขวาง, ราชเทวี, ดินแดง, บางซื่อ, วังทองหลาง, จตุจักร, ลาดพร้าว)

2. รถพยาบาลฉุกเฉินขั้นสูง (Advanced life support (ALS) Ambulance)

3. ภารกิจเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (interfacility, home-facility transportation)

4. ภารกิจพิเศษ: standby, mass gathering, major incident (MERT/i-EMT)

5. ถ่ายทอดความรู้: ประชาชน, บุคลากร: EMT-B, ENP, MD

ต่อมานายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ และนายแพทย์จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ได้กล่าวถึงประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ต่อการดำเนินงานทางการแพทย์ สรุปได้ ดังนี้

1.ขั้นตอนการรับส่งผู้ป่วยจิตเวชควรประสานงานร่วมกับสำนักงานตำรวจภายในพื้นที่ที่เกิดเหตุเพื่อให้รับส่งผู้ป่วยจิตเวชพร้อมกับรถฉุกเฉิน

2.ปัญหาเตียงภายในโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย

3.การขาดแคลนบุคลาการทางการแพทย์

4.สร้างความเข้าใจให้กับคนไข้ในกระบวรการคัดแยกคนไข้ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

5.ควรหาโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิเพื่อรองรับคนไข้ที่มีอาการคงที่จากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

6.หากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิมีศักยภาพที่จะดำเนินงานเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ควรให้โรงพยาบาลระดับตติยภูมิร่วมกันรับผิดชอบในส่วนนี้ด้วย พร้อมกับควรสนับสนุนงบประมาณ

7.สร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนในการป้องกันโรคและดูแลตัวเองในกรณีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน

หลังจากนั้น นายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ และนายแพทย์จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน พาเยี่ยมชมระบบการปฏิบัติงานของกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและศูนย์กู้ชีพนเรนทร

นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ ได้กล่าวชื่นชมการทำงานของศูนย์นเรนทรโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งนับเป็น สถาบันเวชศาสตร์ฉุกเฉิน แห่งแรกในประเทศไทย จนมีหน่วยแพทย์ฉุกเฉินเกิดเกิดขึ้น ทั่วประเทศไทย ทั้งโดยโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน และอาสาสมัครองค์กรการกุศลต่างๆ ซึ่งกรรมาธิการการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎรจะช่วยผลักดัน ด้านต่างๆ ดังนี้

1. เบอร์โทรศัพท์สำหรับแจ้ง ผู้ป่วยอุบัติเหตุ และผู้ป่วยฉุกเฉิน ปัจจุบันคือ 1669 น่าจะเปลี่ยนให้เป็นเลข 3 ตัว

2. นักเวชศาสตร์ฉุกเฉิน paramedic ยังไม่เพียงพอ ต้องมีการผลิตเพิ่มขึ้น และ มีตำแหน่ง มีอัตรารองรับ สร้างความมั่นคงในวิชาชีพ

3.. เพิ่มเตียงให้สามารถรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ซึ่งปัจจุบันแผนกฉุกเฉินทุกโรงพยาบาล ล้วนแต่แออัดเกินไป

4. ตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งจะเสร็จในปลายปีนี้ ยังขาดแคลนงบประมาณ

5. ในกรณีที่ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้รับการดูแลรักษาจนอาการดีแล้ว แต่ต้องการการดูแลต่อในโรงพยาบาล ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน ทำให้โรงพยาบาลตติยภูมิอย่างเช่นโรงพยาบาลราชวิถี ไม่มีเตียงเพียงพอที่จะรับคนไข้ใหม่จำเป็นต้องมีโรงพยาบาลทุติยภูมิ รองรับ

6. การส่งรถฉุกเฉิน ไปให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย ต้องไปถึงได้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น