ตามที่โรงเรียนรัฐราษฎร์บำรุง โดยการนำของนายอนุสรณ์ พรมรังกา ผู้อำนวยการโรงเรียนรัฐราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต1ได้ร่วมกันกับคณะครูบุคลากรวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ สมรรถนะและศักยภาพ รวมทั้งคุณภาพโรงเรียนให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ที่กำหนดไว้ว่า โรงเรียนรัฐราษฎร์บำรุงเป็นโรงเรียนแห่งคุณภาพ ผู้เรียนมีจิตสาธารณะและได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านเต็มตามศักยภาพ ชุมชนเชื่อมั่นในการจัดการศึกษา และให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดว่า เรียนดี มีความสุข โดยพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนควรมีการนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่มาใช้ ที่เป็นการตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพนักเรียนและโรงเรียนดังกล่าว ได้แก่ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกจิตศึกษา ทั้งระดับอนุบาลและประถมศึกษา การบูรณาการการเรียนรู้แบบ PBL-Problem Based Learning และระบบสนับสนุน ระบบการนำองค์กรการพัฒนาครูผ่าน PLC เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions)
ดังนั้น โรงเรียนรัฐราษฎร์บำรุง จึงสมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC ปี 2567 ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ และผู้บริหารและคณะครูทุกคนได้เข้ารับการอบรมแบบเข้มจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาในระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา
ในปีการศึกษา 2567 โรงเรียนรัฐราษฎร์บำรุงได้วางแผนการนำนวัตกรรมการศึกษาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกจิตศึกษา PBL-Problem Based Learning และระบบสนับสนุนการพัฒนาครูผ่าน PLC เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ โดยเริ่มใช้นวัตกรรมการศึกษาดังกล่าวในการเรียนการสอนนักเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 ภาคเรียนที่ 1 เป็นต้นมา ตามบริบทของโรงเรียน โดยมีความก้าวหน้าในการดำเนินการตามลำดับ
วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2567 ทีมวิจัยประกอบด้วย รศ.ดร.พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ และ ผศ.ดร.สมภัสสร บัวรอด จากมหาวิทยาลัยราชภัฎ หมู่บ้านจอมบึง ได้มาเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนที่ใช้ นวัตกรรมจิตศึกษาของโรงเรียนรัฐราษฎร์บำรุง โดยมีโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์เป็นต้นแบบ โดยมีนางสาวศิริขวัญ ปัดเปา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านในเวียง (มาเรียนรวมกับโรงเรียนรัฐราษฎร์บำรุง) และตัวแทนคณะครูให้การต้อนรับ โดยได้สอบถามครูบุคลากรและนักเรียน โดยไม่บอกล่วงหน้า ผลการเก็บข้อมูลปรากฏว่า โรงเรียนรัฐราษฎร์บำรุงมีการดำเนินการใช้นวัตกรรมจิตศึกษา PBLและกระบวนการพัฒนา EF มีความก้าวหน้าในการดำเนินการไปตามลำดับโดยผู้บริหารโรงเรียน คณะครู บุคลากรทุกคนทุกระดับชั้นได้ตระหนักและร่วมมือร่วมใจดำเนินการเป็นอย่างดี ทำให้เกิดผลต่อคุณภาพนักเรียนในเชิงสมรรถนะมีคุณภาพเป็นที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง โดยคณะวิจัยได้ให้กำลังใจแก่โรงเรียนและนำแหล่งข้อมูลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้บริหารและคณะครูบุคลากรด้วย โรงเรียนจึงขอขอบคุณโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาและคณะวิจัยเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้